วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บทบาทของภาวะผู้นำในเรื่อง 7อุปนิสัยสำหรับผู้ทรงประสิทธิผลยิ่ง

กลุ่ม3

 บทบาทของภาวะผู้นำ

เรื่อง 7 อุปนิสัย สำหรับผู้ทรงประสิทธิผลยิ่งขึ้น

( THE 7 HABITS OF HIGHLY EFFECTIVE PEOPLE )


เริ่มต้นด้วยจุดหมายในใจ

หลักการแห่งภาวะผู้นำส่วนบุคคล

 

                             สิ่งที่วางไว้เบื้องหลัง สิ่งที่วางรออยู่เบื้องหนา
                           ถือเป็นเรื่องเล็กน้อย
                           เปรียบเทียบกับสิ่งที่อยู่ในตัวเรา
                                                               โอลิเวอร์ เว็นเดลล์ โฮล์มส

        ทุกคนเกิดมาล้วนแต่มีวันที่ต้องตายซึ่งเมื่อเราตายไปแล้วสิ่งที่เหลืออยู่คือชื่อเสียง คุณงามความดี หรือสิ่งต่างๆที่เราได้กระทำไว้ ให้แต่ละคนได้จดจำ ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ลูก หลาน ญาติพี่น้อง เพื่อนสนิทของคุณ เพื่อนร่วมงาน อยู่ในวงการธุรกิจเดียวกัน และสถาบันศาสนาหรือองค์กรในชุมชนที่คุณมีส่วนร่วช่วยเหลือร่มทำงานเพื่อชุมชน ว่าลักษณะของคุณ ผลงานความสำเร็จของคุณ แล้วคุณทำอะไร สร้างสิ่งใดไว้ในชีวิตของพวกเขาบ้าง

หมายความว่าอย่างไร "เริ่มต้นด้วยจุดหมายในใจ"

        การเริ่มต้นด้วยจุดหมายในใจ หมายถึง การเริ่มต้นด้วยความเข้าใจชัดแจ้งว่า ประสงค์เดินทางไปยังจุดใด หมายความว่าทราบจุดหมายที่ต้องการจะไปให้ถึง ดังนั้น จำเป็นจะต้องเข้าใจให้ดีก่อนว่าขณะนี้คุณอยู่ที่ใด เพื่อที่จะได้ก้าวที่ละก้าว มุ่งไปยังจุดหมายนั้นในทิศทางที่ชอบที่ควร
        ซึ่งบางครั้งเราอาจจะมองไม่เห็นหนทางแห่งความสำเร็จที่ง่ายๆแต่คุณอาจทำให้มันกลับกลายเป็นเรื่องยากและวุ่นวายซับซ้อน เพื่อที่จะไปสู่ความสำเร็จ เป็นได้ว่าคุณพยายามจนยุ่ง วุ่นวาย อย่างหนักโดยไม่ได้ประสิทธิผลอะไรเลย
        ดังนั้นเมื่อคุณจะทำหรือสร้างสิ่งใดก็ตามคุณต้องเริ่มต้นด้วยจุดหมายในใจ ว่าคุณจะทำอะไร

สรรพสิ่งสร้างสองครั้ง

        การ "เริ่มต้นด้วยจุดหมายในใจ" วางอยู่บนรากฐานหลักการที่ว่า "สรรพสิ่งสร้างสองครั้ง" แรกสุด วาดสร้างขึ้นมาในใจ และการสร้างครั้งถัดมา จะเป็นการก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างเชิงกายภาพ
        ถ้าเรามองในด้านธุรกิจ ถ้าต้องการกิจการที่ประสบความสำเร็จ เราต้องนิยามให้จัดเจนว่าต้องการบรรลุจุดหมายในเรื่องใด คุณจะคิดทบทวนอย่างละเอียดของผลิตภัณฑ์หรือการบริการที่คุณจะนำเสนอต่อตลาดกลุ่มเป้าหมาย จากนั้นคุณจะประสานงานกับองค์ประกอบอื่นๆ ที่จำเป็นต้องดึงมาใช้งานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้วาดภาพการ "เริ่มต้นด้วยจุดหมาายในใจ" ได้ชัดเพียงใด จะชี้ชัดได้ว่าองค์กรจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว ธุรกิจส่วนใหญ่ผิดพลาดตั้งแต่ขั้นการสร้างภาพครั้งแรกในใจ ประสบปัญหาเช่น ขาดแหล่งเงินทุน มองตลาดผิดพลาดคลาดเคลื่อน หรือไม่มีแผนการดำเนินธุรกิจ

ภาวะผู้นำและการบริหารจัดการ...การสร้างสองครั้ง

        ภาวะผู้นำเป็นการสร้างครั้งแรก ภาวะผู้น้ำมิใช่การบริหารจัดการ เพราะการบริหารจัดการเป็นการสร้างครั้งที่สอง
        การบริหารจัดการจะเป็นการทุ่มเทความสนใจไปยังเส้นล่างสุด "จัดการเรื่องนี้ให้สำเร็จได้อย่างไร?" ภาวะผู้นำอยู่ที่เส้นบนสุด "เรื่องใดที่ต้องการทำให้สำเร็จ?" ปีเตอร์ ดรักเกอร์และวอเร็น เบ็นนิส จำกัดความไว้ว่า "การบริหารจัดการคือ ทำให้ถูกต้อง ส่วนภาวะผู้นำ เลือกเรื่องที่ถูกต้อง" การบริหารจัดการจะเป้นประสิทธิภาพปีนไต่บันไดสู่ความสำเร็จส่วนภาวะผู้นำ จะพิจารณาเลือกว่าจะพิงบันไดกับกำแพงใดจึงจะถูกต้อง
        เราจำเป็นต้องมีวิสัยทัศน์ หรือเป้าหมาย และเข็มทิศ มากกว่าแผนที่เส้นทาง บ่อยครั้งที่เราไม่รู้ว่าภูมิประเทศเบื้องหนาจะเป็นอย่างไร หรือเราจำเป็นต้องใช้สิ่งใดบ้างในการเดินทางเราจะตัดสินใจเมื่อถึงเวลา แต่เราก็ยังเดินทางด้วยความมั่นใจเพราะเข็มทิศในตัว จะชี้ทิศบอกเส้นทางได้แม่นยำได้เสมอ

คำปณิธานส่วนบุคคล

         หนทางทรงประสิทธิผลที่สุดในการเริ่มต้นด้วยจุดหมายในใจ จะเป็นการเขียนคำปณิธานส่วนบุคคลหรือปรัชญาหรือหลักคำสอนประจำชีวิต จะทุ่มความสนใจไปที่สิ่งที่คุณต้องการจะเป็น ต้องการจะทำ และคุณลักษณะหรือหลักการอันเป็นรากฐานของการดำรงอยู่และการลงมือกระทำ หากวางอยู่บนรากฐานหลักการที่ถูกต้องจะกลายเป็นมาตรฐาสำหรับบุคคลนั้น เป็นรากฐานที่จะใช้ในการตัดสินใจ

ที่จุดศูนย์กลาง

         ณ ที่แก่นกลางนี้ที่เราจะรับมือกับวิสัยทัศน์ และค่านิยม ที่จุดนี้ที่เราจะใช้คุณสมบัติเฉพาะของมนุษย์ เริ่มต้นด้วยการรู้ตนเอง ไม่ว่าจุดศูนย์กลางของเราจะเป็นสิ่งใด จุดศูนย์กลางนี้จะเป็นแหล่งกำเนิดของความมั่นคง การชี้แนะ ปัญญา และพลังอำนาจ

ระบุจุดศูนย์กลางของตัวเอง

        หนทางดีที่ดีสุดที่จะระบุจุดศูนย์กลางของตัวเรา จะเป็นการมองไปที่องค์ประกอบรากฐานทั้งสี่ของชีวิต ถ้าเราระบุยืนยันแต่ละด้านได้ อาจจะมองย้อนกลับไปหาแก่นกลางที่เป็นต้นธารของเรื่องนั้น...แก่นกลางที่อาจจะจำกัดประสิทธิผลส่วนตัวของคุณ

ยีดหลักการเป็นจุดศูนย์กลาง

         เมื่อใดที่ฝากชีวิตยึดหลักการที่ถูกต้องเป็นจุดศูนย์กลาง เราจะสร้างฐานรากเป็นปึกแผ่น ให้องค์ประกอบทั้งสี่ของชีวิตมีพัฒนาการได้เต็มที่
         ความมั่นคง จะได้จากสำนึกที่ว่า จุดศูนย์กลางนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับบุคคลอื่นหรือสิ่งอื่นที่แปรเปลี่ยนปรวนแปร หลักการถูกต้องไม่เคยเปลี่ยนเราฝากชีวิตได้เต็มที่

การวาดภาพและการยืนยัน

          ภาวะผู้นำส่วนบุคคลมิใช่ประสบการณ์คราวเดียว ไม่ได้เริ่มต้นและจบลงด้วยการเขียนคำปณิธานส่วนบุคคล ตรงกันข้าม เป็นกระบวนการต่อเนื่อง นำเอาวิสัยทัศน์และค่านิยมวางอยู่ต่อหน้าต่อตาปรับชีวิตให้สอดคล้องกับเรื่องที่สำคัญที่สุด ในการทำเช่นนั้น พลังสมองซีกขวาของคุณ จะช่วยได้มากในการดำเนินการวันต่อวันในอันที่จะปรับคำปณิธานส่วนบุคคลให้กลืนเข้าไปในชีวิต ถือเป็นการประยุกต์ใช้เรื่องหนึ่งของการ "เริ่มต้นด้วยจุดหมายในใจ"

คิดแบบชนะ/ชนะ

หลักการแห่งภาวะผู้นำระหว่างบุคคล

 

                               เราท่องจำกฎทองได้จนขึ้นใจแล้ว
                               บัดนี้สมควรนำมาปฏิบัติในชีวิต
                                                        เอ็ดวิน มาร์แคม

           ไม่ว่าคุณจะเป็นประธานบริษัทหรือภารโรง วินาทีที่คุณก้าวจากการพึ่งตนเองเข้าสู่การพึ่งพาซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะมีระดับความสามารถแค่ไหน คุณก้าวเข้าสู่ภาวะผู้นำแล้ว คุณอยู่ที่ตำแหน่งที่จะแผ่อิทธิพลจูงใจผู้อื่น และอุปนิสัยแห่งภาวะผู้นำทรงประสิทธิผลคือ แบบชนะ/ชนะ

หกกรอบความคิดแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

           คิดแบบชนะ/ชนะ มิใช่เทคนิคพิเศษ หากแต่เป็นปรัชญาของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล แท้จริงแล้ว เป็นหนึ่งในหกของกรอบความคิดแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเท่านั้น กรอบความคิดทางเลือกอื่นๆ คือ ชนะ/แพ้ แพ้/ชนะ แพ้/แพ้ ชนะอย่างเดียว และ ชนะ/ชนะ หรือไม่ตกลง

ชนะ/ชนะ

           ชนะ/ชนะ เป็นกรอบความคิดและหัวใจที่เฝ้าเสาะหาผลประโยชน์ร่วมกันในทุกความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ชนะ/ชนะ หมายถึงข้อตกลงหรือหนทางแก้ไขปัญหาที่ทั้งสองฝ่ายได้รับประโยชน์ ทั้งสองฝ่ายได้รับความพึงพอใจ

ชนะ/แพ้

           อีกทางเลือกหนึ่งของชนะ/ชนะ คือ ชนะ/แพ้ กรอบความคิดแข่งขันเฟ้นหาตัวผู้ชนะไปเที่ยวเบอร์มิวดา กล่าวยืนยันว่า "ถ้าฉันชนะ คุณแพ้"
           ในสไตล์ภาวะผู้นำ ชนะ/แพ้ จะเป็นวิธีรวบอำนาจ ผู้นิยมใช้ชนะ/แพ้ มักใช้ตำแหน่ง อำนาจ คุณวุฒิ ทรัพย์สิน หรือบุคลิกภาพบีบบังคับให้เป็นไปตามความต้องการของตน

แพ้/ชนะ

           แพ้/ชนะ เลวร้ายกว่า ชนะ/แพ้ เพราะไม่มาตรฐาน ไม่มีการเรียกร้อง ไม่มีความคาดหวัง ไม่มีวิสัยทัศน์ คนที่คิดแพ้/ชนะจะถลาไปปลอบหรือเอาอกเอาใจ คนกลุ่มนี้เสาะหาการยอมรับ การได้รับความนิยม แทบไม่มีความกล้าในตัวที่จะแสดงออกถึงอารมณ์ของตน ความเห็นชี้ขาดจะหัวหดยอมพ่ายเมื่ออยู่ต่อหน้าความกร้าวแกร่งของผู้อื่น

แพ้/แพ้

          เมื่อใดที่คนชนะ/แพ้สองคนมาเผชิญหน้ากัน คนดื้อรั้น อัตราสูงล้นและมุ่งมั่นคว้าชัยชนะเพียงสถานเดียวคือ แพ้/แพ้ ทั้งสองฝ่ายพ่ายแพ้ ทั้งสองแค้นเคืองสาหัสกว่าเดิม เติมความพยาบาท จะต้อง "เอาคืน" ให้สาสม หน้ามืดตามัวจนมองไม่เห็นว่าการฆ่าผู้อื่นเท่ากับการฆ่าตัวตาย และการล้างแค้นเป็นดาบสองคม

ชนะอย่างเดียว

          ทางเลือกสามัญที่กลั่นตัวมาเป็นการคิดแบบ ชนะอย่างเดียว คนที่มีแนวคิดนี้ไม่จำเป็นที่จะหาผู้แพ้มาสังเวย เรื่องนอกประเด็น สาระสำคัญคือ การได้สิ่งที่เขาต้องการ
          ในเมื่อไม่มีการแข่งขัน ไม่มีการชิงดีชิงเด่น แนวคิดชนะ อาจเป็นวิถีปกติที่สุดในการต่อรองในชีวิตประจำวัน คนที่คิดชนะอย่างเดียว มุ่งไปหาผลสำเร็จที่ตนประสงค์...ถ้าผู้อื่นต้องการผลสำเร็จ ก็ต้องดิ้นรนขวนขวายเอาเอง

ชนะ/ชนะ หรือไม่ตกลง

          ถ้าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายไม่อาจบรรลุข้อตกลงแก้ปัญหาผนึกพลังประสานความต่าง ข้อตกลงที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับ การเจรจาครั้งนี้ สมควรจะไต่สูงกว่าชนะ/ชนะไปอีกขั้น นั่นก็คือ ชนะ/ชนะ หรือไม่ตกลง

มิติทั้งห้าของชนะ/ชนะ

          แนวคิดชนะ/ชนะเป็นอุปนิสัยของภาวะผู้นำระหว่างบุคคลเกี่ยวข้องกับคุณสมบัติเฉพาะของมนุษย์ทั้งสี่ข้อ...การเรียนรู้จินตนาการ มโนธรรม และความประสงค์อิสระมาใช้งานในความสัมพันธ์กับผู้อื่นเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ระหว่างกัน อิทธิพลระหว่างกัน และผลกำไรระหว่างกัน

คุณลักษณะ

          คุณลักษณะเป็นรากฐานของแนวคิดชนะ/ชนะ สิ่งอื่นใดล้วนแต่ก่อตัวบนรากฐานแห่งนี้กรอบความคิดชนะ/ชนะ จำเป็นต้องมีคุณลักษณะสามประการ ดังนี้ 
  • บูรณภาพ (Integrity) เป็นค่านิยมที่เราวางกำกับตนเอง ช่วยให้เราพัฒนาและรักษาบูรณภาพไว้ได้
  • วุฒิภาวะ (Maturity) คือสมดุลระหว่างความกล้าหาญกับความใส่ใจผู้อื่น
  • กรอบของจิตเหลือเฟือ (Abundance mentality) กรอบของจิตเหลือเฟือกรอบความคิดที่ว่า มีทุกอย่างมากมายพอจะแบ่งปันให้ทุกคนผู้ทุกคน

กระบวนการ

           ไม่มีทางจะบรรลุผลสำเร็จชนะ/ชนะ...ด้วยวิธีการชนะ/แพ้ หรือ แพ้/ชนะ คุณไม่อาจพูดว่า "พวกเราจะต้องคิดชนะ/ชนะเสมอ ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม" ดังนั้น คำถามอยู่ที่ว่าจะร่วมปรึกษากันหาหนทางแก้ปัญหา ด้วยแนวคิดชนะ/ชนะได้อย่างไร
           ในการทำงานร่วมกับบุคคลและองค์กร สรรหาหนทางแก้ปัญหาด้วยวิธีชนะ/ชนะ ทั้งสองฝ่ายควรมีส่วนร่วมในกระบวนการทั้งสี่ข้อ ดังนี้
           ข้อแรกสุด มองปัญหาจามุมมองของอีกฝ่าย พยายามทำความเข้าใจ แสดงออกถึงความต้อง  การ ความกังวลของอีกฝ่าย เท่าเทียมหรือดีกว่าฝ่ายนั้นจะแสดงออกได้
           ข้อสอง ระบุวาระสำคัญ และความกังวล (มิใช่สถานภาพ) ที่เกี่ยวข้อง
           ข้อสาม ตรวจทานว่าผลลัพธ์ใดที่จะนำมาเป็นหนทางแก้ปัญหาที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับได้
           และข้อสี่ ระบุทางเลือกใหม่ที่อาจช่วยให้บรรลุผล

ข้อเสนอแนะในการปรับใช้

  1. มองล่วงหน้าไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่จะเกิดขึ้นเรื่องราวที่คุณพยายามจะทำข้อตกลงหรือต่อรองเพื่อให้ได้คำตอบในการแก้ปัญหา ผูกมัดตนเองให้ยึดสมดุลแห่งความกล้าหาญและความใส่ใจผู้อื่น
  2. จดรายการอุปสรรคที่จะขัดขวางบ่อยครั้งไม่ให้คุณใช้กรอบความคิดชนะ/ชนะ ตรวจทานในขอบเขตแห่งอิทธิพลของคุณว่าจะกำจัดอุปสรรคเช่นนี้ให้พ้นทางได้อย่างไร
  3. เลือกความสัมพันธ์เฉพาะเจาะจงเรื่องหนึ่งที่คุณอยากจะทำข้อตกลงชนะ/ชนะ วางตัวเองอยู่ในมุมมองของอีกฝ่ายเขียนทุกเรื่องที่คุณคาดว่าฝ่ายนั้นจะมองหนทางในการแก้ปัญหาในแง้ใด จากบัญชีรายการ จากมุมมองของคุณ ผลลัพธ์ใดที่จะเป็นชัยชนะของคุณ ยึดเรื่องนั้นเป็นหลัก สอบถามอีกฝ่ายว่าเต็มใจจะสื่อสารกับคุณจนกว่าจะบรรลุข้อตกลงที่เอื้อประโยชน์ให้ทั้งสองฝ่ายหรือไม่
  4. ระบุความสัมพันธ์สำคัญ 3 เรื่องในชีวิตของคุณ จดแจ้งรายละเอียดว่าคุณรู้สึกอย่างไรต่อสมดุลในบุญชีออมใจของทั้งสามเรื่อง เขียนระบุเฉพาะเจาะจงว่าต้องการทำอย่างไรจึงจะเพิ่มยอดในบัญชีออมใจได้
  5. เสาะค้นเข้าไปในบทชีวิตของคุณ บทกำกับอยู่ในแง้ชนะ/แพ้ หรือไม่? บทชีวิตมีผลกระทบต่อการสานสัมพันธ์กับผู้อื่นหรือไม่? คุณระบุได้ไหมว่าแก่นเรื่องหลักในบทชีวิต จะเป็นเรื่องใด สอบทานให้แน่ใจว่าบทชีวิตนั้นดูแลความเป็นจริงในชีวิตปัจจุบันของคุณได้ดีเพียงใด
  6. พยายามระบุบุคคลต้นแบบที่คิดชนะ/ชนะ อยู่เสมอ ไม่ว่าจะตกอยู่ในสถานการณ์สาหัสอย่างไรก็ตาม จะเสนอความเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย จับตาดูบุคคลผู้นั้นอย่างใกล้ชิด พยายามเรียนรู้จากวัตรปฏิบัติของเขา