วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ปัญหาผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง

                
AE วิชาการจัดการนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลง


ปัญหาผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง

1. ที่มาและจุดเริ่มต้นของปัญหา
             ความสามารถในการลดอัตราการเกิดและการตายให้ต่ำลง ประกอบกับอายุขัยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ประชากรวัยสูงอายุมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จึงก่อให้เกิดปัญหาตามมา ได้แก่ ปัญหาผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง ไม่ได้รับการเอาใจใส่และดูแลเท่าที่ควร ปัญหาด้านสุขภาพที่เสื่อมโทรมของผู้สูงอายุ และปัญหาทางเศรษฐกิจ และสังคม เป็นต้น
ขณะเดียวกันประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีระบบการเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายในผู้สูงอายุ ส่วนประเทศไทยนั้นมีผู้สูงอายุที่หลีกหนีปัญหาด้วยการฆ่าตัวตาย 17 คนต่อประชากรในกลุ่มเดียวกันแสนคนจะเห็นว่าจำนวนของผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นๆ ขณะช่วงวัยอื่นๆ กลับมีแนวโน้มลดลง จากสถิติผลการวิจัยของประเทศไทย ยังระบุว่าในปี พ.ศ. 2569 จำนวนผู้สูงอายุกับช่วงวัยเด็ก มีจำนวนเท่ากันและมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่ช่วงวัยเด็กมีจำนวนลดลง ส่วนช่วงวัยทำงานกลับมีอัตราการตายสูงขึ้นๆ ด้วยปัญหาโรคเอดส์หากเราปล่อยให้จำนวนผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันกลุ่มคนในช่วงวัยอื่นๆ มีแนวโน้มลดลง แล้วใครจะเป็นคนดูแล ช่วยเหลือ ปรนนิบัติ ผู้สูงอายุเหล่านั้น เมื่อจำนวนของกลุ่มคนวัยทำงานที่มีศักยภาพในหลายด้านมีจำนวนลดน้อยลง ภาระหน้าที่ในการดูแล เอาใจใส่ผู้สูงอายุภายในครอบครัวเริ่มด้อยประสิทธิภาพ ผู้สูงอายุจะถูกปล่อยปละละเลยมากขึ้น ทิ้งให้อยู่ตามลำพัง ใช้ชีวิตอยู่คนเดียว โดดเดี่ยว เร่ร่อนตามที่ต่างๆ ภาพเหล่านี้จะวนเวียนอยู่ในสังคมไทยและสังคมโลกเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะมาช่วยกัน สร้างความเข้าใจ พร้อมไปกับร่วมแก้ปัญหาผู้สูงอายุที่เกิดขึ้นในสังคมให้คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น ไม่ใช่ปล่อยปัญหาของผู้สูงอายุให้เป็นปัญหาที่รุมเร้าสังคมไทยตลอดถึงสังคมโลกอย่างเช่นทุกวันนี้ในวันวานของผู้สูงอายุเคยมีบทบาทกับชีวิตพวกเราหลายต่อหลายคน มาวันนี้บทบาทหลายเรื่องราวลดทอดลงด้วยหลายๆ เหตุผล หากยังปล่อยให้ปัญหาผู้สูงอายุถูกแก้อย่างไม่มีทิศทางเหมือนเช่นที่ผ่านมา ชีวิตของผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยคงมีเพียงอดีต หากแต่ปัจจุบันนั้นคงถูกฝังไปกับกาลเวลาที่ผ่านเข้ามาอย่างไม่มีหยุดมันลงได้





2. สภาพปัญหาในปัจจุบัน
           ปัจจุบันปัญหาผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งมีอยู่จำนวนมากในทุกจังหวัดทั่วประเทศ แม้รัฐบาลบอกว่าจะไม่ทอดทิ้ง แต่ก็ให้การช่วยเหลือได้ไม่ทั่วถึง เพราะมีหลายปัจจัยที่ทำให้ข้อมูลตกหล่น ผู้สูงอายุหลายคนจึงต้องอยู่อย่างเดือดร้อนตามลำพัง ด้วยการอาศัยเพื่อนบ้าน หรือผู้มีน้ำใจและศรัทธาให้ความช่วยเหลือเท่าที่จะทำได้
อย่างที่ จ.สมุทรสงคราม หรือเมืองแม่กลอง ที่มีประชากรแค่เกือบ 2 แสนคน แต่มีผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งสูงมาก เนื่องมาจากเศรษฐกิจที่ฝืดเคือง ปัญหาความยากจน ปัญหาในครอบครัวและปัญหาสังคม ที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นคือ ลูกหลานติดยาเสพติด หากไม่ถูกจับก็ร่อนเร่พเนจรไปมั่วสุมไม่กลับบ้าน จนกว่าจะจนตรอกจริงๆ จึงย้อนมาหาเพื่อขอเงินไปเกี่ยวข้องกับอบายมุขต่อไป
อีกปัญหาหนึ่งก็คือ ลูกหลานไปทำงานนอกบ้านต่างเมือง เนื่องมาจาก จ.สมุทรสงคราม ถูกจำกัดพื้นที่ในเรื่องของการจัดสร้างโรงงานอุตสาหกรรม ไม่ให้อุตสาหกรรมขนาดใหญ่เข้ามาอย่างเด็ดขาด วัยแรงหนุ่มสาวส่วนใหญ่จึงพากันไปขายแรงงานในต่างจังหวัด บางรายไปเช้าเย็นกลับ บางรายอาจไปค้างแรมเป็นอาทิตย์ เป็นเดือน หรือเป็นปี ผู้สูงอายุจึงถูกทอดทิ้งให้เฝ้าบ้าน บางทีต้องเลี้ยงหลานเหลนจนไม่มีเวลาพักผ่อน ภาพที่ต้องมานั่งไกวเปลจึงปรากฏให้เห็นอยู่ทั่วไป
น.ส.อัจฉรา พุ่มมณีกร หัวหน้าสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จ.สมุทรสงคราม กล่าวว่า ใน จ.สมุทรสงคราม มีผู้สูงอายุและคนชราประมาณกว่า 3 หมื่นคน เกือบทุกคนได้รับเบี้ยยังชีพไม่ต่ำกว่าเดือนละ 500 บาท ต้องยอมรับว่าไม่เพียงพอต่อการใช้จ่าย หากไม่ได้รับการดูแลจากครอบครัวที่เป็นพี่น้องหรือบุตรหลาน บางรายอาจต้องอาศัยข้าววัดกิน อาศัยที่วัดอยู่ หากสำนักงานพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์พบเห็นหรือได้รับข้อมูลแจ้งมา ก็จะให้การช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษ
สำหรับเรื่องเบี้ยยังชีพอย่ามองว่าน้อย เพราะยังมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การช่วยเหลือเพิ่มเติมอีก เช่น คนชราและผู้สูงอายุที่อยู่ในเขตเทศบาลต่างก็จะได้รับเบี้ยยังชีพของเทศบาล ส่วนที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล หรือ อบต. ก็มีเบี้ยยังชีพให้เช่นกัน นอกจากนี้ยังได้รับเครื่องบริโภคอุปโภคอีกด้วย และบางรายยังได้รับความเมตตา ความสงสารจากเพื่อนบ้านและผู้ที่พบเห็น เชื่อว่าผู้สูงอายุบางรายอาจเพียงพอต่อการดำรงชีวิต หากไม่ฟุ่มเฟือยหรือเอาเงินไปดื่มสุราและเล่นการพนัน
ปัญหาต่อมาก็เรื่องการขาดแคลนและอดอยาก ที่หน่วยงานซึ่งรับผิดชอบต้องยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือครั้งแล้วครั้งเล่า แต่เรื่องดังกล่าวก็เกิดซ้ำซากจนบางรายลูกหลานเอือมระอาและทอดทิ้งไปในที่สุด จึงอยากให้ผู้สูงอายุประคับประคองตัวเองให้อยู่รอด หากมีปัญหาก็ติดต่อมาได้ที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จ.สมุทรสงคราม ได้
อย่างไรก็ตาม ปัญหาของผู้สูงอายุยังไม่ได้มีเพียงแค่นี้ เพราะเท่าที่ได้รับการร้องเรียนมีหลายตำบลระบุว่า เบี้ยยังชีพของผู้สูงอายุเดือนละ 500 บาทนั้น ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง บาง อบต.จ่ายเป็นรายเดือน บาง อบต.ก็จายเป็นราย 6 เดือน หรือ 1 ปี บัญชีเบิกไม่ชัดเจน มีการขูดขีดฆ่าหรือปลอมแปลงเอกสาร การเบิกจ่ายมีการเซ็นชื่อมอบฉันทะให้คนอื่นไปรับแทน สิ่งเหล่านี้หากเกิดขึ้นจริงก็เท่ากับเป็นการทุจริตในวงราชการ ข้อสำคัญคือเป็นการทำนาบนหลังคน และคนเหล่านั้นเป็นผู้ชราอีกด้วย
ผู้สูงอายุรายหนึ่งในเขต อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม เปิดเผยว่า ในปี 2552 ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเพียง 6 เดือน อีก 6 เดือนหายไป เจ้าหน้าที่อ้างว่ารัฐบาลจ่ายให้แค่ 6 เดือนเท่านั้น แต่หลังจากนั้นก็ได้รับเดือนละ 500 บาทตลอด ไม่ทราบเงิน 6 เดือนที่ไม่ได้รับนั้นหายไหน อยากให้มีการตรวจสอบด้วย
ขณะที่ผู้สูงอายุอีกรายในอำเภอเดียวกันก็บ่นว่า สมัยก่อนกำนัน ผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ดูแลเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ฝนก็ตกไม่ทั่วฟ้า คือได้บ้าง ไม่ได้บ้าง เพราะกำนันและผู้ใหญ่บ้านบางรายจะจ่ายให้กับผู้สูงอายุที่เป็นเครือญาติก่อน ถ้าเงินเหลือก็จะจ่ายให้กับลูกบ้านคนอื่นๆ ปัจจุบันการจ่ายเบี้ยยังชีพโอนไปให้ อบต.รับผิดชอบก็เข้ากรอบเดิม เท่ากับว่าผู้สูงอายุหนีเสือปะจระเข้
ทั้งหมดนี้เป็นความรู้สึกที่หดหู่ น่าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน จ.สมุทรสงคราม รวมไปถึงจังหวัดอื่นควรจะลงพื้นที่ตรวจสอบให้ได้ข้อเท็จจริง เพราะปัญหาเหล่านี้มีอยู่จริงในทุกท้องที่ทั่วประเทศ และอย่าตรวจสอบเฉพาะข้อมูล เอกสารการเบิกจ่าย และการเซ็นชื่อรับเบี้ยยังชีพเท่านั้น แต่ต้องลงไปดูให้ถึงที่ เนื่องจากมีตัวอย่างมาแล้ว เช่น การสำรวจ จปฐ.ของหน่วยงานใน จ.สมุทรสงคราม ที่จ้างคนสำรวจบ้าง เจ้าหน้าที่ออกสำรวจเองบ้าง ข้อมูลส่วนใหญ่จะไม่ตรงกัน เพราะเจ้าหน้าที่และผู้รับจ้างส่วนใหญ่ไปสำรวจแค่บ้านกำนัน บ้านผู้ใหญ่บ้าน และบ้าน อบต. ลอกเอาข้อมูลมา หรือที่แนบเนียนที่สุดก็ไปเอาข้อมูลที่สถานีอนามัยในตำบล ส่งผลให้การสำรวจ จปฐ.ใน จ.สมุทรสงคราม ข้อมูลส่วนใหญ่ไม่ตรงกับความเป็นจริงมากนัก
ปัจจุบันยังมีคนสมุทรสงครามอีกมากมายที่ตกสำรวจ จปฐ. เช่นเดียวกับผู้สูงอายุ คนชราและผู้ด้อยโอกาส และคนเหล่านี้จำนวนไม่น้อยยังไม่เคยได้รับเบี้ยยังชีพแม้แต่บาทเดียว



       ที่มา ข่าวทั่วไป หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ -- จันทร์ที่ 7 มิถุนายน 2553  สราวุฒิ ศรีธนานันท์ รายงาน




3. ผลกระทบของปัญหา (ขอบเขต, แนวโน้ม และความรุนแรง)
             สภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนไป กลายเป็นกระแสทุนนิยม ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างครอบครัวให้กลายเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น ความรักความผูกพันในครอบครัวน้อยลง คนในครอบครัวมัวแต่สนใจเรื่องการทำงานเก็บเงิน จนอาจมองข้ามความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัวไป
ส่งผลให้สัดส่วนของผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียวตามลำพังในครัวเรือนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยในปี 2537 มีผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียวร้อยละ 3.6 ในปี 2545 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 6.3 และข้อมูลล่าสุดในปี 2550 พบมีผู้สูงอายุอยู่คนเดียวในครอบครัวตามลำพังร้อยละ 7.7 ทั้งนี้ร้อยละ 56.7 ของผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียวตามลำพังไม่มีปัญหา ที่เหลือร้อยละ 43.3 มีปัญญา ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่สูงอยู่สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุที่พบบ่อยที่สุดคือ ความรู้สึกเหงาสูงถึงร้อยละ 51.2 ของผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียว รองลงคือปัญหาไม่มีคนดูแลท่านเมื่อเจ็บป่วย ร้อยละ 27.5 ปัญหาด้านการเงินที่ต้องเลี้ยงชีพ ร้อยละ 15.7 และ ร้อยละ 5.3 ไม่มีลูกหลานมาช่วยแบ่งเบาภาระภายในบ้าน ปัญหาทั้งหมดเหล่านี้จะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้งมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจ โดยจะเกิดมากที่สุดในผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้งจากลูกหลานนอกจากนี้ ผู้สูงอายุยังมีปัญหาด้านร่างกาย เนื่องจากสภาพร่างกายที่ทรุดโทรมลงตามกาลเวลา ส่งผลให้สุขภาพอ่อนแอ ช่วยเหลือได้น้อยลง อีกทั้งสังคมก็ยังเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุเกิดความรู้สึกในทางลง มองตนเองเป็นผู้ไร้ประโยชน์และเป็นภาระของสังคม เกิดความสับสนทางอารมณ์ จิตใจ และความเชื่อมั่นในตนเองลดน้อยลง ท้ายสุดทำให้ผู้สูงอายุเหล่านี้อยู่ในภาวะอารมณ์เศร้า ท้อแท้ ผิดหวัง และมีปมด้อย ซึ่งปัญหาเหล่านี้ถือเป็นปัญหาทางสังคมที่จะต้องช่วยกันเร่งแก้ไขโดยด่วน





4. ผู้รับผลกระทบ (ภาคธุรกิจใด)
ภาครัฐบาล
-                   กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพราะหากผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งภาครัฐบาลก็จะต้องเป็นผู้ดูแลและรับผิดชอบถึงชีวิตความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุเหล่านั้น
-                   สถานพยาบาล, สถานสงเคราะห์ต่างๆ จะต้องรับผิดชอบเลี้ยงดูผู้สูงอายุเหล่านี้และอีกทั้งยังต้องมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้นอาจทำให้สถานที่ไม่เพียงพอต่อผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้ง




5. ข้อเสนอแนะในการลดความรุนแรงของปัญหา
                   เราควรหันมาสนใจ  ผู้สูงอายุ โดยเอาใจใส่และดูแลอย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะในเวลาปกติหรือในเวลาเจ็บไข้ได้ป่วย  พูดคุยและหาโอกาสพาไปผักผ่อน  หากิจกรรมให้ทำในเวลาว่าง รวมทั้งสนับสนุนให้ได้รับการออกกำลังกายที่ถูกวิธี เพื่อเป็นการพัฒนาร่างกายควบคู่กันไป หากิจกรรมให้ทำร่วมกันในครอบครัว เพื่อการสร้างความอบอุ่นและความสัมพันธ์ที่ดีของสมาชิกในครอบครัว  เพราะนอกจากจะช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะที่ดีแล้ว  ยังจะกลายเป็นวัคซีนที่ดีของสมาชิกทุกคนในครอบครัวอีกทางหนึ่งด้วย ดังนั้น
1. ผู้สูงอายุต้องได้รับปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่าและศักดิ์ศรี  ได้รับการพิทักษ์และคัดกรองให้พ้นจากการถูกทอดทิ้งและละเมิดสิทธิ โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติโดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ไม่
สามารถพึ่งตนเองหรือครอบครัวได้ และผู้พิการที่สูงอายุ
2  ผู้สูงอายุควรอยู่กับครอบครัวโดยได้รับการเคารพรัก  ความเข้าใจ  ความเอื้ออาทร  การดูแลเอาใจใส่  การยอมรับบทบาทของกันและกันระหว่างสมาชิกในครอบครัว  เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดี  ในการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข
3.  ผู้สูงอายุควรได้รับโอกาสในการศึกษา  เรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างต่อเนื่องเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและบริการทางสังคมอันเป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิต  เข้าถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคมรอบด้าน  เพื่อสามารถปรับสภาพตนเองให้สมวัย
4 ผู้สูงอายุควรได้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้สังคมได้มีโอกาสได้ทำงานที่เหมาะสมกับวัย  ตามความสมัครใจโดยได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรม  เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจและเห็นชีวิตมีคุณค่า
5  ผู้สูงอายุควรได้รับการเรียนรู้ในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ต้องมีหลักประกันและสามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพอนามัยอย่างครบวงจร  โดยเท่าเทียมกันรวมทั้งได้รับการดูแลถึงวาระสุดท้ายของชีวิตอย่างสงบตามคตินิยม
6 ผู้สูงอายุควรได้รับบทบาทและส่วนร่วมในกิจกรรมของครอบครัว ชุมชน  สังคม  โดยเฉพาะการรวมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยน  เรียนรู้ และเข้าใจอันดีระหว่างผู้สูงอายุด้วยกัน  กับบุคคลทุกวัย
7  รัฐโดยการมีส่วนร่วมขององค์กรภาคเอกชน  ประชาชน สถาบัน  สังคมต้องกำหนดนโยบายและแผนหลักด้านผู้สูงอายุ ส่งเสริมและ ประสานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการอย่างต่อเนื่องให้บรรลุตามเป้าหมาย
8  รัฐโดยการมีส่วนร่วมขององค์กรภาคเอกชน  ประชาชน สถาบันสังคม  ต้องตรากฎหมาย  ว่าด้วยผู้สูงอายุเพื่อเป็นหลักประกันและการบังคับใช้ในการพิทักษ์สิทธิ  คุ้มครอง และจัดสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุ
9   รัฐโดยการมีส่วนร่วมขององค์กรภาคเอกชน  ประชาชน  สถาบันสังคมต้องรณรงค์ปลูกฝังค่านิยมให้สังคมตระหนักคุณค่าของผู้สูงอายุตามวัฒนธรรมไทยที่เน้นความกตัญญูกตเวทีและความเอื้ออาทรต่อกัน



ความรู้ที่ได้รับจากกรณีศึกษา
1. เราควรหันมาใส่ใจผู้สูงอายุ ควรเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิด
2. ควรปลูกฝังจิตสำนึกให้มีความรักความผูกพันในครอบครัวเพื่อที่จะได้ไม่เกิดปัญหาผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง
3. รัฐบาลควรให้การสนับสนุนเรื่องสวัสดิการของผู้สูงอายุ
4. รัฐบาลควรเขามามีส่วนร่วมในการจัดหางานที่เหมาะสมกันแรงงานผู้สูงอายุให้มีรายได้
5. อนาคตจะมีผู้สูงอายุเป็นจำนวนมากเราควรมีวิธีการเตรียมตัวรับสภาวะแรงงานผู้สูงอายุ
6. ผู้สูงอายุควรได้รับการศึกษา เรียนรู้ ดูแลสุขอนามัยของตนเอง เพื่อที่สามารถดูแลตนเองได้